Thailand Medical News - For All The Latest Breaking Medical News, Health News, Research News, COVID-19 News, Outbreak News, Dengue News, Glaucoma News, Diabetes News, Herb News, Phytochemical News, Heart And Cardiology News, Epigenetic News, Cancer News,

BREAKING NEWS
Source: University Of Tasmania  Jan 15, 2019  5 years, 3 months, 3 weeks, 3 days, 8 hours, 46 minutes ago

การวิจัยแสดงให้เห็นว่าโรคเบาหวานกระทบการทำงานของสมอง.

การวิจัยแสดงให้เห็นว่าโรคเบาหวานกระทบการทำงานของสมอง.
Source: University Of Tasmania  Jan 15, 2019  5 years, 3 months, 3 weeks, 3 days, 8 hours, 46 minutes ago
โรคเบาหวานมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะแทรกซ้อนหลายอาการอย่างเช่นโรคไต แต่การวิจัยใหม่ได้พบว่าผู้มีอายุที่เป็นเบาหวานประเภท 2 อาจประสบปัญหาในเรื่องของการคิดและความจำ



ในการวิจัยระยะห้าปีนั้น ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานที่เข้าร่วมได้แสดงสมรรถนะในความจำและความคล่องแคล่วทางวาจาที่แย่ลง และเมื่อได้ทำการสแกนเอ็มอาร์ไอแล้วนั้น นักวิจัยเห็นว่าสมองของผู้เข้าร่วมนั้นมีขนาดที่เล็กกว่าเมื่อตอนเริ่มการวิจัย แต่อัตราของการลดขนาดในสมองไม่ได้แตกต่างกันในปีต่อปีที่ได้ติดตามคนไข้ ผู้ตรวจการณ์ไม่ได้พบความเชื่อมโยงระหว่างขนาดของสมองและปัญหาในการคิดและการจำแต่อย่างใด

ผู้นิพนธ์การวิจัย มิเชล แคลลิซายา และหนึ่งในนักวิจัย ที่ มหาวิทยาลัยแทสมาเนีย กล่าวว่า “ถึงแม้ว่าการทำงานในหน่วยความจำและบริหารการ [ทักษะการคิดและการวางแผน] เสื่อมลงในอัตราที่สูงกว่าในผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภท 2 แต่ก็ไม่ได้มีการเชื่อมโยงกับการที่สมองลดขนาดแต่อย่างใด”

แคลลิซายาได้บอกว่าการค้นพบนี้เป็นอันที่น่าประหลาดใจกับนักวิจัยอย่างมาก เพราะเขาได้คาดไว้ว่าขนาดของสมองที่ลดลงนั้นน่าจะเป็นอะไรที่พบได้มากกว่านี้ในผู้ที่มีปัญหาเรื่องการจำและการคิด แต่เธอได้บอกว่ามันก็อาจจะเป็นไปได้ที่ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเหล่านี้จะปรากฏชัดขึ้นในระยะ าว และเธอก็บอกอีกว่า “สรุปแล้วก็คือโรคเบาหวานประเภท 2 นั้นมีผลกระทบกับการทำงานของสมอง”

นักวิจัยได้กล่าวว่า งานการวิจัยที่ผ่านมาได้พบว่าการเป็นโรคเบาหวานอาจทำให้การเสี่ยงในการเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นถึงสองเท่า และถึงแม้ว่าการวิจัยครั้งก่อนๆได้แสดงให้เห็นถึงเชื่อมโยงระหว่างสองอาการนี้ แต่ก็ยังไม่มีผลใดสามารถพิสูจน์ถึงความสัมพันธ์ในแบบเหตุและผลได้ และทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ทำให้แคลลิซายาและเพื่อนร่วมงานของเธอพิสูจน์ว่าการลดขนาดของสมองนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่

เขาได้รวบรวมมากกว่า 700 คนที่มีอายุระหว่าง 55 ถึง 90 ปีในการวิจัยครั้งนี้ และสามครั้งในระยะเวลาห้าปีก็ได้มีการทดสอบเพื่อวัดทักษะในการคิด วางแผน และความจำของผู้เข้าร่วมเหล่านี้ และทุกครั้งก็มีการสแกนเอ็มอาร์ไอด้วยเช่นกัน

ประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้เข้าร่วมนั้นเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 (348 คน) และอายุโดยเฉลี่ยแล้วคือ 68 ปี และกลุ่มที่ไม่เป็นโรคเบาหวานนั้นมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 73 ปี ซึ่งนักวิจับได้พบว่าผู้ที่เป็นโรคเบาหวานนั้นได้คะแนนที่ต่ำกว่าในทั้งการทดสอบความจำและความคล่องแคล่วทางวาจา
ความจำทางวาจานั้นคือความสามารถในการจำศัพท์ได้และความคล่องแคล่วทางวาจาก็คือการวัดทักษาในการคิดและวางแผน อย่างเช่นผู้ที่ปัญหาในส่วนนี้อาจจะลืมชื่อของผู้อื่นได้หรือหาสิ่งของไม่ค่อยเจอนั่นเอง ผู้ที่มีปัญหาด้านความคล่องแคล่วทางวาจาอาจจะมีปัญหาในเรื่องของการวางแผน ริเร่ม และจัดระเบียบสิ่งต่างๆ

การสแกนเอ็มอาร์ไอแสดงให้เห็นว่าผู้เป็นโรคเบาหวานจะมีขนาดสมองในตอนเริ่มการวิจัยที่น้อยกว่าผู้ไม่มีโรคนี้ แต่ทีมของแคลลิซายาไม่เห็นว่ามีหลักฐานใดๆที่บอกว่าขนาดสมองมีการเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเสื่อมของการคิดและการจำ

ดร. จิเซล วูล์ฟ-ไคลน์ ผู้อำนวยการด้านการศึกษาของผู้สูงอายุ ที่ นอร์ทเวลล์ เฮลต์ ใน เมืองเกรตเน็ค รัฐนิวยอร์ก ได้ตรวจสอบผลการวิจัยและกล่าวว่า “ถึงเราจะปฏิเสธไม่ได้ว่าโรคเบาหวานเป็นปัจจัยการเสี่ยงอย่างหนึ่งในการพัฒนาของการเปลี่ยนแปลงทางปัญญา แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่ามีความสัมพันธ์กับอาการสมองฝ่ออย่างไร”

ดร. โจล ซอนสไซน์ ผู้อำนวยการศูนย์โรคเบาหวาน ที่ ศูนย์การแพทย์มอนเตฟิออเร ใน เมืองนิวยอร์กซิตี้ ก็เห็นด้วยว่าการวิจัยในครั้งนี้ไม่ได้แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของสมอง โรคเบาหวาน และปัญหาด้านความคิดและความจำแต่อย่างใด

ซอนสไซน์ บอกว่าความแตกต่างระหว่างสองกลุ่มในการวิจัยอาจมีบทบาทสำคัญกับผลการวิจัยอย่างมาก เนื่องจากว่าคนที่อยู่ในกลุ่มของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานนั้นน้ำหนักจะเยอะกว่าและมีระดับคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตที่สูงกว่าในอีกกลุ่มหนึ่ง

เขากล่าวต่ออีกว่า “สำหรับผม บทเรียนก็คือ การควบคุมที่ดีในช่วงแรกของปัจจัยความเสี่ยงเหล่านี้—น้ำตาลในเลือด คอเลสเตอรอล น้ำหนัก และความดันโลหิต—นั้นสำคัญ รวมถึงการออกกำลังอย่างสม่ำเสมออีกด้วย และผู้ที่มีปัจจัยความเสี่ยงดังกล่าวจะมีความเสี่ยงในการเสื่อมสภาพทางปัญญาที่สูงขึ้น”

วูล์ฟ-ไคลน์ กล่าวว่า ถึงว่ายังพิสูจน์ไม่ได้ว่าการบริหารน้ำตาลในเลือดให้ดีจะสามารถลดความเสี่ยงจากปัญหาสุขภาพสมองได้ “แต่การออกกำลังกายและทานอาหารที่เป็นประโยชน์นั้นมีความเชื่อมโยงกับการลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคสมองเสื่อมในประชากรณ์ทั่วไปและอุบัติการณ์ของโรคเบาหวานที่น้อยลงด้วยเช่นกัน”

แคลลิซายาก็เห็นด้วยและกล่าวว่า “อะไรที่ดีต่อหัวใจก็ดีต่อสมองด้วยเหมือนกัน” และนอกจากการทานอาหารที่ถูกต้องและออกกำลังกายอย่างปกติแล้ว เธอแนะนำให้ยังทำการสังคมและท้าทายสมองของคุณ

ข้อมูลเพิ่มเติม: Michele L. Callisaya et al. Type 2 diabetes mellitus, brain atrophy and cognitive decline in older people: a longitudinal study, Diabetologia (2018). DOI: 10.1007/s00125-018-4778-9 

 

MOST READ

Jun 10, 2023  11 months ago
COVID-19 News - DNA Methylation - Asymptomatic SARS-CoV-2 Infections
Sep 08, 2022  2 years ago
Source- Medical News - COVID-19 Research - Impaired Pain Modulation
Aug 04, 2022  2 years ago
Source: Medical News - SARS-CoV-2 & Cancer
Aug 13, 2020  4 years ago
Source: Supplements For COVID-19