For The Latest Medical News, Health News, Research News, COVID-19 News, Pharma News, Glaucoma News, Diabetes News, Herb News, Phytochemical News, Thailand Cannabis News, Cancer News, Doctor News, Thailand Hospital News, Oral Cancer News, Thailand Doctors

BREAKING NEWS
แหล่งข่าว: ไทยแลนด์ เมดิคอล นิวส์  Nov 24, 2019  5 years, 7 months, 3 weeks, 1 day, 17 hours, 51 minutes ago

มีคำเตือนเกี่ยวกับยาโรคเกาต์เช่น Allopurinol และ Febuxostat

มีคำเตือนเกี่ยวกับยาโรคเกาต์เช่น Allopurinol และ Febuxostat
แหล่งข่าว: ไทยแลนด์ เมดิคอล นิวส์  Nov 24, 2019  5 years, 7 months, 3 weeks, 1 day, 17 hours, 51 minutes ago
Medical Thailand 

US FDA และหน่วยงานกำกับดูแลอื่นๆในยุโรปและแคนาดาเตือนว่ายา Allopurinol และ Febuxostate ที่ใช้ในรักษาโรคเกาต์ได้ถูกพบว่ามีความเชื่อมโยงเกี่ยวกับอุบัตการณ์เรื่องหัวใจร่วมหลอดเลือดและไตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
 
โรคเกาต์เป็นอาการข้ออักเสบพบได้ทั่วไปที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บสาหัส การบวม และข้อแข็ง และมักจะเกิดขึ้นในข้อของหัวแม่เท้า
 
อาการของโรคเกาต์เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและจะกลับมาได้ตลอดเวลา มันจะทำร้ายเนื้อเยื่อในบริเวณของการอักเสบอย่างช้าๆและอาจเจ็บปวดมาก
 
มันเป็นชนิดของโรคข้ออักเสบที่พบได้มากที่สุดในผู้ชาย แต่ถึงแม้จะเกิดขึ้นมากกว่าในผู้ชาย ผู้หญิงก็มีโอกาสในการเป็นได้มากขึ้นในวัยหมดระดูเช่นกัน
 
Allopurinol เป็นยาที่ถูกใช้มากที่สุดในการรักษาโรคเกาต์ ซึ่งเป็นอาการที่มีความเจ็บปวดที่เริ่มมีการพบได้มากขึ้นทั่วโลกเนื่องจากนิสัยในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นในอาหารการกิน


 
เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐอเมริกาเร็วๆนี้ได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับหัวใจร่วมหลอดเลือดเมื่อใช้ยารักษาโรคเกาต์อีกตัวหนึ่งชื่อว่า febuxostat การสั่งยา allupurinol ก็อาจจะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
 
โรคหลอดเลือดและหัวใจเป็นปัจจัยการเสี่ยงแบบอิสระสำหรับปฏิกิริยาทางผิวหนังที่ร้ายแรงในผู้ป่วยที่ใช้ allupurinol สำหรับโรคเกาต์ ตามที่ได้กล่าวในงานวิจัยหนึ่งในวารสาร CMAJ (Canadian Medical Association Journal)
 
t;
การวิจัยในใต้หวันก่อนหน้านี้พบความสัมพันธ์ระหว่างโรคหัวใจและความเสี่ยงต่อการต้องเข้าโรงพยาบาลเนื่องจากปฏิกิริยาทางผิวหนังร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับ allupurinol ผู้ที่มีตัวบ่งชี้ทางพันธุกรรมตัวหนึ่งเรียกว่า HLA-B*5801 allele ซึ่งพบได้มากที่สุดในคนเอเชียและคนผิวดำมีความเสี่ยงต่อปฏิกิริยาดังกล่าวมากกว่าผู้ที่ไม่ได้มี allele ตัวนี้อย่างมาก
 
เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในความสัมพันธ์ระหว่างโรคหัวใจและการต้องเข้าโรงพยาบาลเนื่องจากปฏิกิริยาทางผิวหนังร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับ allupurinol ในประชากรทั่วไปนักวิจัยจากประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกาได้ตรวจดูข้อมูลจาก Population Data BC ซึ่งได้รวมข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพและการจ่ายยาของผู้ที่อาศัยอยู่ในรัฐบริติชโคลัมเบียเกือบทั้งหมด 4.7 ล้านคน การศึกษาได้พบว่าโรคหัวใจมีความสัมพันธ์กับการต้องเข้าโรงพยาบาลเนื่องจากปฏิกิริยาทางผิวหนังร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับ allupurinol และความเสี่ยงดังกล่าวก็สูงมากขึ้นในผู้ที่เป็นทั้งโรคหัวใจและโรคไต
 
ผู้ประพันธ์ร่วม Dr. Hyon Choi จากแขนงวิทยารูมาติก ภูมิแพ้ และวิทยาภูมิคุ้มกันที่โรงพยาบาล Massachusetts General Hospital ในเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซ็ท ได้กล่าวในการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับ Thailand Medical News ว่า “ผลการวิจัยของเราบ่งบอกว่าโรคหัวใจ เช่นเดียวกับโรคไตเรื้อรังนั้น เป็นปัจจัยการเสี่ยงสำหรับปฏิกิริยาทางผิวหนังร้ายแรงที่ทำให้ควรต้องมีการใช้มาตรการป้องกันจากปฏิกิริยาเหล่านี้ไว้ก่อน เช่นริเริ่มการใช้ allopurinol ในปริมาณน้อยหรือการคัดกรองสำหรับ HLA-B*5801”
 
ผู้ประพันธ์ของการวิจัยแจ้งว่าปฏิกิริยาทางผิวหนังร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับ allupurinol หาได้ยากและ allupurinol เล่นบทบาทสำคัญในการดูแลจัดการโรคเกาต์
 
นักวิจัยแนะนำว่าแพทย์ที่สั่งยา allopurinol ควรตรวจหาปัจจัยการเสี่ยงเหล่านี้เพื่ออาจทำการพิจารณาการสั่งยาในปริมาณที่น้อยในช่วงริเริ่มและการป้องกันอื่นๆ ซึ่งอาจจะช่วยยับยั้งปฏิกิริยาทางผิวหนังที่หายากแต่ร้ายแรงเช่นนี้
 
สำหรับคนไข้ที่กำลังใช้ยาเหล่านี้โปรดปรึกษากับแพทย์หรือโรงพยาบาลของคุณหากคุณต้องการเปลี่ยนยาและหากประสบปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ใดก็ตามขอให้แจ้งหมอของคุณโดยทันที
 
Reference: 
"Heart disease and the risk of allopurinol-associated severe cutaneous adverse reactions: a general population-based cohort study" is published September 30, 2019. www.cmaj.ca/lookup/doi/10.1503/cmaj.190339

MOST READ

May 10, 2025  2 months ago
Nikhil Prasad
Apr 29, 2025  3 months ago
Nikhil Prasad
Mar 10, 2025  4 months ago
Nikhil Prasad
Mar 01, 2025  5 months ago
Nikhil Prasad