ยารักษาโรคกรดไหลย้อนและยาลดกรด Proton Pump Inhibitors (PPIs) มีความเชื่อมโยงเกี่ยวกับโรคไต
แหล่งที่มา: San Diego School Of Medicine Feb 23, 2019 6 years, 2 months, 3 weeks, 5 days, 3 hours, 52 minutes ago
ยาลดกรด Proton pump inhibitors (PPIs) ซึ่งรวมถึงยี่ห้อที่รู้จักกันดีอย่าง Prilosec, Miracid, Nexium และ Prevacid เป็นตัวที่ถูกสั่งจ่ายยากันบ่อยมากที่สุดในโลก ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของวัยผู้ใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทานยาเหล่านี้เพื่อรักษาอาการแสบร้อนกลางอกที่เป็นอยู่บ่อยๆ, อาการกรดไหลย้อน, และโรคกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหาร
ในการศึกษาวิจัย ซึ่งได้ตีพิมพ์แล้วเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 โดยวารสาร
Scientific Reports ทางทีมงานพบว่าผู้ป่วยที่ทานยา PPIs จะมีแนวโน้มเกิดประสบการณ์โรคไตได้มากกว่าคนที่ทานยา Histamine-2 receptor antagonists ซึ่งเป็นยาลดกรดอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้รักษาภาวะอาการเดียวกันนี้ และยาลดกรดที่ใช้กันอยู่นี้ก็คือยี่ห้อ Pepcid และ Zantac
"ข้อมูลด้านการติดตามความปลอดภัยของยาหลังวางจำหน่ายซึ่งรวบรวมโดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาและที่เก็บไว้ในฐานข้อมูลของระบบรายงานอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาขององค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา
(FAERS) ทำให้เราทราบได้ถึงผลเสียต่างๆที่เป็นไปได้นอกเหนือไปจากที่พบในการทดลองทางคลินิก ซึ่งอาจมีผลได้ไม่นานเท่าหรือรวมความหลากหลากได้ไม่เท่าของที่ FAERS จัดทำเอง" กล่าวโดยผู้เขียนอาวุโสคุณ Ruben Abagyan ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ศาสตราจารย์สาขาวิชาเภสัชกรรมในงานสัมภาษณ์พิเศษกับหน่วยข่าว Thailand Medical News
ฐานข้อมูลของ FAERS ได้เก็บบันทึกรายงานของผู้ป่วยมากกว่า 10 ล้านราย ซึ่งทั้งหมดเป็นรายงานเกี่ยวกับอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาของอาสาสมัคร ทีมงานวิจัยได้เพ่งเล็งไป
ี่ผู้ป่วยที่ทานยา PPIs โดยที่ไม่ได้ทานร่วมกับยาตัวอื่นใดเลย และจัดจำนวนผู้ป่วยที่เข้าร่วมงานศึกษาวิจัยให้น้อยลงเหลืออยู่ที่ประมาณ 43,000 ราย ทีมงานได้ใช้ขั้นตอนทางคณิตศาสตร์เพื่อมองหาความแตกต่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติในเรื่องของการเกิดอาการแทรกซ้อนอันเกี่ยวเนื่องกับไตที่รับรายงานมา ระหว่างผู้ป่วยที่ทานยา PPIs และกลุ่มควบคุมซึ่งเป็นผู้ป่วยประมาณ 8,000 รายที่ทานยา Histamine-2 receptor blockers เช่น Zantac หรือ Pepcid โดยที่ไม่ได้ทานร่วมกับยาตัวอื่นใดเลย
นี่คือสิ่งที่พวกเขาค้นพบ: ผู้ป่วยที่ทานแต่ยา PPIs อย่างเดียวเท่านั้นได้แจ้งรายงานว่ามีปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์อันเกี่ยวเนื่องกับไตโดยมีความถี่ที่ 5.6 เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบกับ 0.7 เปอร์เซ็นต์สำหรับผู้ป่วยที่ทานแต่ยา Histamine-2 receptor antagonists อย่างเดียวเท่านั้น
(1).jpg)
เจาะลึกลงไปอีก ทางทีมงานค้นพบว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมแล้วนั้น ผู้ป่วยที่ทานแต่ยา PPIs จะมีแนวโน้มที่จะแจ้งรายงานว่ามีโรคไตเรื้อรังได้มากกว่าเป็นระดับ 28.4 เท่า และมีความบาดเจ็บต่อไตฉับพลัน (มีแนวโน้มเป็นได้มากกว่าเป็นระดับ 4.2 เท่า), โรคไตวายระยะสุดท้าย (มีแนวโน้มเป็นได้มากกว่าเป็นระดับ 35.5 เท่า) และความผิดปกติทางไตที่ระบุไม่ได้ (มีแนวโน้มเป็นได้มากกว่าเป็นระดับ 8 เท่า) ผู้ป่วยที่ทานแต่ยา PPIs จะมีแนวโน้มเกิดประสบการณ์ด้านความผิดต่อทางอิเล็คโทรไลต์ได้มากกว่าด้วย แต่ความผิดปกติด้านนี้มีความผันแปรมากกว่าไปตามแต่ยา PPIs แต่ละอย่าง แต่สำหรับผลกระทบจำเพาะที่มีต่อไตนั้นจะได้ค่าเป็นจริงกับยา PPIs ทั้ง 5 อย่างทั้งหมดที่นำมาทดสอบ
Abagyan เตือนว่างานศึกษาวิจัยนี้ไม่ได้เผยถึงค่าความถี่แบบสัมบูรณ์ของการแจ้งรายงานอาการที่เกี่ยวเนื่องกับไตสำหรับทุกคนที่ได้ทานยา PPIs เนื่องจากรายงานที่มีอยู่ใน FAERS นั้นเป็นแบบอาสาสมัคร เขายังกล่าวอีกด้วยว่ามันเป็นไปได้ แม้ว่าไม่น่าจะใช่ ที่ผลกระทบจะเกิดจากปัจจัยกวนอันระบุไม่ได้ การทดลองทางคลินิกแบบมีการควบคุม, ใช้การสุ่มตัวอย่าง, และเป็นขนาดใหญ่จะต้องจัดทำขึ้นอีกเพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยา PPI และความเสี่ยงสัมบูรณ์ของโรคไตในมนุษย์ได้อย่างหนักแน่น
ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก ยา PPIs เป็นยาจำเป็นสำหรับหลายๆคน คอยช่วยให้พวกเขาคุมอาการที่มีความเจ็บปวดอยู่บ่อยๆและก่อกวนต่อชีวิตประจำวัน แต่ Abagyan หวังว่าข้อมูลเบื้องต้นนี้จะกระตุ้นผู้ให้บริการทางด้านดูแลสุขภาพช่วยกันจัดเตรียมคำเตือน, การศึกษา, และการติดตาม ที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่ต้องทานยา PPIs โดยเฉพาะถ้าผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อโรคไตและความผิดปกติทางอิเล็คโทรไลต์มากอยู่แล้ว นักวิจัยได้ให้คำแนะนำที่คล้ายเคียงกันนี้ตามข้อมูลของงานศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัย UC San Diego School of Medicine ประจำปี 2560 ที่พบหลักฐานในหนูและมนุษย์ว่ายา PPIs จะส่งเสริมต่อการเกิดโรคตับเรื้อรัง
ยา PPIs เป็นยาที่มีราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับยาอื่นๆแล้ว โดยมีราคาขายปลีกอยู่ที่ประมาณ $7 สำหรับคอร์สยา 2 สัปดาห์ที่แนะนำให้ทาน ซึ่งราคานี้เป็นราคาของยา Prilosec (ยา Omeprazole) ที่ซื้อขายทั่วไปตามร้านขายยา แต่ความถี่ของการใช้ยาจะเพิ่มมากขึ้น มีงานศึกษาวิจัยงานหนึ่งได้ประมาณไว้ว่าชาวอเมริกาใช้เงินจำนวน 11 พันล้านดอลลาร์ในการซื้อยา PPIs ในแต่ละปี ทั้งๆที่มีทางเลือกในการรักษาอื่นที่นอกเหนือไปจากยา PPIs ซึ่งมีราคาไม่แพงและมีให้พร้อมใช้ อย่างไรก็ตาม ยาลดกรดอื่นๆชนิดไม่มีส่วนผสมของยา PPI (ตัวอย่างเช่น ยา Pepto-Bismol, ยา Tums, ยา Histamine-2 receptor antagonists) อาจมีประสิทธิภาพได้ไม่ดีพอ
แหล่งอ้างอิง: Tigran Makunts et al, Analysis of postmarketing safety data for proton-pump inhibitors reveals increased propensity for renal injury, electrolyte abnormalities, and nephrolithiasis, Scientific Reports (2019). DOI: 10.1038/s41598-019-39335-7